รายละเอียดเพิ่มเติม
AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นความรู้ด้านดิจิทัลหรือ digital literacy อันหนึ่งที่พลเมืองร่วมยุคสมัยควรมีความเข้าใจการทำงานของระบบอัจฉริยะเชิงข้อมูลซึ่งอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ แล้วนำมาเชื่อมต่อได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการวิเคราะห์ ข้อมูล เรื่องราว หรือผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานของ AI หรือที่เรียกว่า AI-Generated Content ได้ มีความเข้าใจและตระหนักในเรื่องจริยธรรม (ethical considerations) เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล และรองรับตลาดแรงงานสมัยใหม่ที่มีความต้องการความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยี (technology based) เป็นสำคัญ
เป้าหมายสำคัญของการเรียนรู้ AI ผ่านบอร์ด KidBright μAI (อ่านว่า คิดไบรท ไมโครเอไอ) คือ พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ได้แก่ กระบวนการคิดที่เป็นระบบ (systematic thinking), กระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ (analytic thinking) รวมถึง กระบวนการพัฒนาความรู้จากการแก้โจทย์ปัญหา (problem-solving) ที่มีเทคโนโลยีขับเคลื่อน ผู้เรียนจึงต้องศึกษาเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้จากการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน (technology-based problem-solving) ได้
ด้วยการใช้บอร์ด KidBright μAI ผู้เรียนจะเข้าใจกระบวนการสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ ตั้งแต่ เก็บข้อมูล, ติดป้ายกำกับ, สร้างโมเดล และ ประยุกต์ใช้งาน จนนำไปสู่การสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่มีปัญญาประดิษฐ์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นการบ่มเพาะทักษะการเป็นนวัตกร โดย KidBright uAI และแพล็ตฟอร์ม KidBright μAI IDE ช่วยให้ผู้เรียนสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้เอง โดยมีการสอน Classification หรือการจัดกลุ่มชุดข้อมูล และรองรับการทดสอบเพื่อใช้งานจริงได้ ซึ่งต่างจาก Generative AI ที่ใช้การพร็อมต์ (prompt) เพื่อเรียกใช้งานโมเดลที่คนอื่นสร้าง
แพล็ตฟอร์ม KidBright μAI IDE พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประเทศไทย เข้าใช้งานได้ที่ https://mai.kidbright.app.meca.in.th/
บอร์ด KidBright μAI จัดอยู่ในกลุ่มของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เรียกว่า Edge AI ซึ่งก็คือการผสานความสามารถของการประมวลผล Edge computing กับปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้าด้วยกัน ทำให้อัลกอริธึมของ AI สามารถทำงานได้เองบนอุปกรณ์ที่รองรับ ประมวลผลข้อมูลได้เร็ว ตอบสนองผู้ใช้งานได้แบบรีลไทม์ ปลอดภัย และใช้งบประมาณลดลง แม้จะมีฐานจัดเก็บข้อมูลขนาดเล็กเมื่อเทียบกับบนระบบคลาวด์
Edge Computing หรือการประมวลผลแบบ Edge เป็นกระบวนการที่ทำให้ความสามารถในการเก็บและประมวลผลข้อมูลอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดหรืออุปกรณ์ที่สร้างข้อมูลมากที่สุด บอร์ด KidBright μAI มีอุปกรณ์รับข้อมูลในตัวทั้งในรูปแบบภาพโดยใช้โมดูลกล้องรับเสียงโดยใช้ไมโครโฟนตรวจจับทิศทางหรือการเคลื่อนที่โดยใช้ตัวตรวจจับความเร่ง
บนบอร์ด KidBright μAI มีวงจร WiFi สำหรับเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายเพื่อขยายขีดความสามารถในการประมวลผลข้อมูลร่วมกับคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ภายนอกได้
นอกจากนั้น ยังมีส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์อินพุตเอาต์พุตภายนอก ทั้งในแบบดิจิทัลที่ใช้สัญญาณลอจิกพื้นฐาน หรือแบบบัสข้อมูลอนุกรมทั้งแบบ UART และ I2C ทำให้บอร์ด KidBright μAI มิได้จำกัดความสามารถในการเรียนรู้และประมวลผลข้อมูลปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น ยังรองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น LED สวิตช์ ตัวตรวจจับแบบดิจิทัลพื้นฐาน ตัวตรวจจับปริมาณทางกายภาพ (แสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความกดอากาศ เป็นต้น) ผ่านทางบัส I2C หรืออุปกรณ์สื่อสารข้อมูลอนุกรมผ่านทาง UART เช่น วงจรขับมอเตอร์ โมดูลตรวจจับและวัดระยะทางด้วยแสงเลเซอร์หรือ LiDar หรือบอร์ดควบคุมเฉพาะทางอื่นๆ บอร์ด KidBright µAI จึงถึงพร้อมทั้งการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้งานด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในระดับ Edge AI
คุณสมบัติทางเทคนิคที่สำคัญ
๐ ใช้โมดูลคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งชิป Allwinner V831 ซีพียูแกนสมองเดี่ยว ARM Cortex-A7 ความถี่ 800MHz
๐ ติดตั้งหน่วยความจำแรม DDR2 ความจุ 64MB
๐ ติดตั้งไมโครโฟนแบบ MEMs พร้อมวงจรขยายสัญญาณ
๐ ติดตั้งตัวตรวจจับความเร่ง 3 แกนเบอร์ MSA301 หรือเทียบเท่า
๐ มีวงจรสื่อสารข้อมูลไร้สาย WiFi ใช้ชิป RTL8189FTV พร้อมสายอากาศ PCB
๐ มีโมดูลกล้อง OV2685 หรือเทียบเท่า ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
๐ ติดตั้งจอแสดงผล IPS ขนาด 1.3 นิ้ว ความละเอียด 240 x 240 พิกเซล
๐ มีวงจรขยายเสียงกำลัง 3W พร้อมลำโพง 8Ω ขนาด 1 นิ้ว ติดตั้งพร้อมใช้งาน
๐ มีซ็อกเก็ต microSD การ์ดสำหรับรองรับ microSD การ์ดความจุ 32GB หรือสูงกว่าที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการลีนุกซ์แล้ว
๐ มีวงจรฐานเวลานาฬิกาจริงพร้อมแบตเตอรี่สำรองค่าเวลา
๐ สวิตช์กดติดปล่อยดับขนาดใหญ่ 2 ตัวพร้อมใช้งาน
๐ พอร์ต USB-C 2 ช่อง แบ่งเป็นพอร์ตสำหรับพัฒนาโปรแกรม USB-OTG (On-The-Go) และพอร์ตสำหรับตรวจสอบการทำงานหรือดีบัก (USB-DEBUG)
๐ มีจุดต่อพอร์ตอินพุตเอต์พุตดิจิทัล 3 ขาชนิด PH2.0 แบบติดตั้งแนวนอน 7 ช่อง
๐ มีจุดต่ออุปกรณ์บัส I2C แบบ KB-CHAIN (5 ขา) และ GROVE (4 ขา)
๐ มีจุดต่อบัส UART สำหรับสื่อสารข้อมูลอนุกรมมี LED แสดงสถานะการทำงาน
๐ ใช้ไฟเลี้ยง 5V กระแสไฟฟ้า 200mA ผ่านทางพอร์ต USB-C หลักหรือจากแจ๊กอะแดปเตอร์ โดยมีสวิตช์เลือกแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง
ในชุดประกอบด้วย
• บอร์ด KidBright μAI พร้อมฐานรอง
• สาย USB-C
• เอกสารประกอบการใช้งาน
– ลิงก์เพื่อใช้งาน KidBright uAI IDE : https://mai.kidbright.app.meca.in.th/
– ดาวน์โหลดเอกสารแนะนำการใช้งานเบื้องต้น